เด็กญี่ปุ่นเขามุงอะไรกัน
จากที่เลาเคยไป มิวเซียมสยาม ครั้งแรก เมื่อปีมะโว้ ตอนนั้นเขาจัดนิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย" หรือ "The Account of Thailand"
หลังจากนั้น เขาก็ซ่อมไปหลายปี จนตอนนี้ นิทรรศการถาวรเปลี่ยนเป็น "ถอดรหัสไทย"
รู้สึกว่ามีอะไรให้หยิบจับเล่นได้เยอะขึ้น สามารถใช้เวลากับนิทรรศการได้ เด็กๆน่าจะชอบ
เลาเองไปช่วง วันขึ้นปีใหม่ ที่เขาให้เข้าฟรีสองวัน
คือ 31 ธันวาคม 2560 และ 2 มกราคม 2561 (วันที่ 1 มกราคม 2561 ปิดให้บริการเนื่องจากเป็นวันจันทร์)
ห้องนี้มีโชว์ ถุงกาแฟหูหิ้ว นี่สิ นวัตกรรม ทำไมต้องเปลืองพลาสติกขนาดใส่มาทั้งถุง ในเมื่อใช้จริงๆ ก็แค่หูหิ้วเอง
พิพิธภัณฑ์ถาวร "ถอดรหัสไทย" มีสองชั้นด้วยกัน คือ ชั้น 3 กับ ชั้น 2
ชั้น 3
* ไทยสถาบัน
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นแกนหลักของความเป็นไทย คนไทยเข้าใจดี
* ไทยตั้งแต่เกิด
ความเป็นไทยแต่ละอย่างเกิดขึ้นตอนไหน มีลำดับเวลายังไง แต่ละสมัยใช้อะไรเป็นตัวแทนความเป็นไทย
* ไทยรึเปล่า
นี่เป็นปัญหา "ความเป็นไทย" ในโลกความเป็นจริง และในโลกโซเชียล
* ไทยแปลไทย
ความเป็นไทยแต่ละอย่างเกิดขึ้นตอนไหนมีลำดับเวลาอย่างไร แต่ละสมัยใช้อะไรเป็นตัวแทนความเป็นไทย
* ไทยอลังการ
แดนสวรรค์สมมุติ มีเขาพระสุเมรุในรูปของราชบัลลังก์ ตั้งอยู่กลางจักรวาลอันเป็นที่ประทับของกษัตริย์ "หัวใจ" ของความเป็นไทย
* ไทยแค่ไหน
วัดอย่างไร
ชั้น 2
* ไทยดีโคตร
เราเลือกรับ ปรับใช้ พัฒนา จนได้แบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเรา งามที่สุดสำหรับเรา น่าภูมิใจที่สุดสำหรับเรา
* ไทยชิม
"รสไทย" ที่ผ่านการ ตำ โขลก ยำ คลุก ปรุงเปลี่ยน บ่งบอกความเป็นไทย จนยากที่ใครจะก๊อปรสมือไทยได้
* ไทยวิทยา
เหตุใดเราจึงมองภาพความเป็นไทยเหมือนๆกัน และ สืบทอดมาต่อเนื่องทุกสมัยแบบไม่ขาดสาย
ศาลพระภูมิแบบไทยๆ นี้ถูกใจ นักเตะระดับโลก เดวิด เบคแฮมมาแล้วน้ะจ้ะ
* ไทย Inter
ไทยสตรีทๆ ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ และจดจำสิ่งไหน คือ ความเป็นไทยในสายตา INTER กันแน่
* ไทย Only
สิ่งของจำนวนมากแบบ"บ้านๆ" พบเห็นในชีวิตประจำวัน สะท้อนความเป็นไทย แบบไทยๆ ได้อย่างชัดเจน เพราะเห็นปุ๊ป เดาได้เลยว่า นี่ไทยแหงๆ
* ไทยเชื่อ
พุทธแบบไทย พราหมณ์แบบไทย ผีแบบไทย ความเชื่อแบบไทยๆ
* ไทยแชะ
เป็นบุคคลในภาพถ่ายยุคสมัยใดก็ได้อย่างอิสระเก็บความเป็นไทยกลับบ้านไปเป็นที่ระลึก
* ไทยประเพณี
ประเพณี เทศกาล มารยาท บางทีเราเรียกว่าวัฒนธรรม วัฒนธรรมเหล่านี้เกิดมาอย่างไร เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน
พิพิธภัณฑ์สยาม
เวลาให้บริการ วันอังคาร-อาทิตย์
เวลา 10.00-18.00
และ วันหยุดนักขัตฤกษ์
( ปิดให้บริการ วันจันทร์ )
เลขที่ 4 ถนนสนามไชย
พระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพฯ
โทร. 02-225-2777 ต่อ 123
facebook : museumsiamfan
WWW : www.museumsiam.org
line : @museumsiam
การเดินทาง
* ทางเรือ
ต่อเรือด่วนเจ้าพระยาไปขึ้นที่ท่าราชินีหรือท่าเตียน แล้วเดินทางไปสนามไชย ประมาณ 150 เมตร
* รถไฟฟ้าใต้ดิน
สนามไชย
* รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน
3,6,9,12,47,53,82,524
ความคิดเห็น