เอนทรีนี้เป็นส่วนหนึ่งของ serie ท่องเที่ยว ดูบทความท่องเที่ยว อื่นๆ ของผม ได้ที่ ลิงก์นี้ นะครับ
เมื่อวานนี้เอง คิดครึ้มอกครึ้มใจ เปิดเวป Museum Siam ขึ้นมาดู เพราะว่า เกิดอยากไปถ่ายรูปขึ้นมา หลังจากที่เคยไปครั้งแรก ตอนที่พิพิธภัณฑ์เพิ่งเปิดใหม่ๆ ตอนหลังๆ ยุ่งๆ เลยไม่ได้แวะไป
คราวนี้ไปได้อย่างเชี่ยวชาญมาก เพราะว่า แถวนั้นไปบ่อยขึ้น ทั้ง วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ และ มธ. ท่าพระจันทร์ ที่เราเองได้แวะเวียนไปบ่อยขึ้นมากๆ
เข้าเรื่องดีกว่า พอเปิดเวปของ Museum Siam ปุ๊ป ก็เจอ เทศกาลงาน รักสร้างสรรค์ สยาม ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 17-18 กันยายน 2554 นี้เอง มีศิลปินไปมากมายน้ะจ้ะ
จากเทศกาลนี้เอง เขาเลยให้ พิพิธภัณฑ์สยาม เข้าฟรี ในสองวันดังกล่าว ซึ่งเราเอง รู้สึกว่าโชคดีเด้งสอง จาก เด้งแรก ตอนไป เมืองโบราณ ที่เขาได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานให้คนกราบไหว้บูชา
พิพิธภัณฑ์สยาม ปรับปรุงตึก อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์เดิม ที่สร้างมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 6 โน่น มีพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ อยู่ตรงท่าเตียน ข้างวัดโพธิ์ ถนนสนามชัย
ซึ่งเราเอง ก็เข้าไปเดินเล่น ในส่วนของ งาน นิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย" หรือ "The Account of Thailand" ซึ่งเขาเล่าเรื่องเรียงตามลำดับเวลา ทำให้เห็นทั้ง วัฒนธรรม การเมือง วิถีชีวิต ตั้งแต่ ยุคประวัติศาสตร์ มาจนถึงปัจจุบัน
โลโก้ ของ มิวเซียม สยาม จ้ะ
คนทำท่าเป็นกบ นอกจากนั้นยังมีคนตีกลองเพื่อขอฝน
เขาเล่าว่า กบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ที่แสดงความอุดมสมบูรณ์ จนเป็นที่เคารพบูชาไปทั่วเอาเชียอาคเนย์ ?
อันนี้ สาวๆ น่าจะสนใจเป็นพิเศษ รึเปล่าจ้ะ เผื่อบางที กบจะกลายร่างเป็นเจ้าชายรูปงาม #อะฮิๆ
ห้องแรกจะเป็นห้องที่ชื่อว่า เบิกโรง จ้ะ เขาฉายวิดิทัศน์ บอกเล่าว่า เราคือใคร และ อะไรคือ ไทย
ห้องที่สองก็น่าสนใจ โดยเฉพาะ ป้ายข้างล่างนี้ อ่านกันเอาเองน่ะ
ห้องที่สาม เป็นห้อง เปิดตำนาน สุวรรณภูมิ
และ ห้องต่อมา เป็นห้อง สุวรรณภูมิ ที่อธิบาย การสร้างเมือง เทคโนโลยีโลหะ และ ความเชื่อจ้ะ
ห้องถัดไป เป็นห้อง พุทธิปัญญา ซึ่งมีการอัญเชิญ คำสอนของท่านพุทธทาส มาเปิดให้ฟังด้วย สามารถไปนอนฟังกันได้เลยอ้ะ
ห้องที่ 6 เป็นห้อง กำเนิด สยามประเทศ ซึ่ง เล่าตั้งแต่ อยุธยา อู่ทอง แสดงความผสมผสาน ด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม
แล้วมาจนถึง ห้อง สยามประเทศ
ห้องที่ 10 คือ ห้อง กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา
ดำเนินมาถึงช่วงสิ้นกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้นมาใหม่
ห้องที่ 11 ชีวิต นอก กรุงเทพฯ
ห้องถัดมา แปลงโฉมสยามประเทศ เริ่มรับอารยธรรมตะวันตก สร้างถนน
ตามด้วย ห้อง กำเนิด ประเทศไทย จาก "สยาม" กลายเป็น "ไทย"
สีสันตะวันตก บรรยากาศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทศวรรษ 1940 บรรยากาศเพลงแห่งความหวัง กล่อมคนให้ลืมความเจ็บปวดช่วงสงครามนั้น ช่างยั่วยวน เสียจริง
แล้วก็มาถึง เมืองไทยวันนี้
ผ่านมาแล้ว 3,000 ปี มีอะไรบ้างที่สืบทอดมาถึงเราบ้าง
และสองห้องสุดท้าย คือ มองไปข้างหน้า และ ตึกเก่าเล่าเรื่อง ซึ่งห้องมองไปข้างหน้า เป็นการใช้กล้อง กับโปรเจคเตอร์ร่วมกัน ทำให้เราเขียนข้อความ แล้วไปยืน กล้องจะจับเรา แล้วทำรูปความคิดออกมาจากหัวเราได้จ้ะ พอเราเดินมันก็ตามเราไปด้วย เจ๋งดีแหะ
เพราะว่าเขาใช้วิธีเล่าเรื่อง และผสมความเป็น Interactive คือ ให้ผู้ชมเกิด ปฏิสัมพันธ์ กับ ตัวนิทรรศการ นั่นเอง ทำให้เราสามารถใช้ประสาทสัมผัสครบทั้ง 6 เลย ไม่ใช่แค่พิพิธภัณฑ์กากๆ อย่างที่คิดกันหรอกน้ะจ้ะ
สุดท้ายขอบคุณ National Discovery Museum Institute หรือ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ครับ ที่ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ดีๆ มีประโยชน์ให้
ส่วน แผนที่ วิธีไป ได้บรรยายไว้ในหัวข้อ ไป พิพิธภัณฑ์สยาม มาแล้ว เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
สนใจก็แวะไปดูกันได้น่ะ
เมื่อวานนี้เอง คิดครึ้มอกครึ้มใจ เปิดเวป Museum Siam ขึ้นมาดู เพราะว่า เกิดอยากไปถ่ายรูปขึ้นมา หลังจากที่เคยไปครั้งแรก ตอนที่พิพิธภัณฑ์เพิ่งเปิดใหม่ๆ ตอนหลังๆ ยุ่งๆ เลยไม่ได้แวะไป
คราวนี้ไปได้อย่างเชี่ยวชาญมาก เพราะว่า แถวนั้นไปบ่อยขึ้น ทั้ง วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ และ มธ. ท่าพระจันทร์ ที่เราเองได้แวะเวียนไปบ่อยขึ้นมากๆ
เข้าเรื่องดีกว่า พอเปิดเวปของ Museum Siam ปุ๊ป ก็เจอ เทศกาลงาน รักสร้างสรรค์ สยาม ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 17-18 กันยายน 2554 นี้เอง มีศิลปินไปมากมายน้ะจ้ะ
จากเทศกาลนี้เอง เขาเลยให้ พิพิธภัณฑ์สยาม เข้าฟรี ในสองวันดังกล่าว ซึ่งเราเอง รู้สึกว่าโชคดีเด้งสอง จาก เด้งแรก ตอนไป เมืองโบราณ ที่เขาได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานให้คนกราบไหว้บูชา
พิพิธภัณฑ์สยาม ปรับปรุงตึก อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์เดิม ที่สร้างมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 6 โน่น มีพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ อยู่ตรงท่าเตียน ข้างวัดโพธิ์ ถนนสนามชัย
ซึ่งเราเอง ก็เข้าไปเดินเล่น ในส่วนของ งาน นิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย" หรือ "The Account of Thailand" ซึ่งเขาเล่าเรื่องเรียงตามลำดับเวลา ทำให้เห็นทั้ง วัฒนธรรม การเมือง วิถีชีวิต ตั้งแต่ ยุคประวัติศาสตร์ มาจนถึงปัจจุบัน
โลโก้ ของ มิวเซียม สยาม จ้ะ
คนทำท่าเป็นกบ นอกจากนั้นยังมีคนตีกลองเพื่อขอฝน
เขาเล่าว่า กบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ที่แสดงความอุดมสมบูรณ์ จนเป็นที่เคารพบูชาไปทั่วเอาเชียอาคเนย์ ?
อันนี้ สาวๆ น่าจะสนใจเป็นพิเศษ รึเปล่าจ้ะ เผื่อบางที กบจะกลายร่างเป็นเจ้าชายรูปงาม #อะฮิๆ
ห้องแรกจะเป็นห้องที่ชื่อว่า เบิกโรง จ้ะ เขาฉายวิดิทัศน์ บอกเล่าว่า เราคือใคร และ อะไรคือ ไทย
3.. 2.. 1 แช๊ะ
ห้องที่สองก็น่าสนใจ โดยเฉพาะ ป้ายข้างล่างนี้ อ่านกันเอาเองน่ะ
ไทยแท้คืออะไร อะไรคือไทยแท้
ห้องที่สาม เป็นห้อง เปิดตำนาน สุวรรณภูมิ
และ ห้องต่อมา เป็นห้อง สุวรรณภูมิ ที่อธิบาย การสร้างเมือง เทคโนโลยีโลหะ และ ความเชื่อจ้ะ
เทคโนโลยี โลหะ สร้างสรรค์วัฒนธรรม
ห้องถัดไป เป็นห้อง พุทธิปัญญา ซึ่งมีการอัญเชิญ คำสอนของท่านพุทธทาส มาเปิดให้ฟังด้วย สามารถไปนอนฟังกันได้เลยอ้ะ
คาถา เย ธฺมมา (อ่านว่า เย-ธัม-มา) แปลว่า สิ่งทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด
ห้องที่ 6 เป็นห้อง กำเนิด สยามประเทศ ซึ่ง เล่าตั้งแต่ อยุธยา อู่ทอง แสดงความผสมผสาน ด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม
แล้วมาจนถึง ห้อง สยามประเทศ
อยุธยา ศูนย์กลางการค้าทางทะเลของภูมิภาค เกิดการแลกเปลียนวัฒนธรรม
ห้องสยามยุทธ์ แสดงกษัตริย์ ในฐานะ พระจักรพรรดิ์
ห้องที่ 9 แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ
ห้องที่ 10 คือ ห้อง กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา
ดำเนินมาถึงช่วงสิ้นกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้นมาใหม่
ห้องที่ 11 ชีวิต นอก กรุงเทพฯ
ความเชื่อ และ พิธีกรรม
ห้องถัดมา แปลงโฉมสยามประเทศ เริ่มรับอารยธรรมตะวันตก สร้างถนน
ตามด้วย ห้อง กำเนิด ประเทศไทย จาก "สยาม" กลายเป็น "ไทย"
สีสันตะวันตก บรรยากาศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทศวรรษ 1940 บรรยากาศเพลงแห่งความหวัง กล่อมคนให้ลืมความเจ็บปวดช่วงสงครามนั้น ช่างยั่วยวน เสียจริง
ยุค Sixty จ้ะ
แล้วก็มาถึง เมืองไทยวันนี้
ผ่านมาแล้ว 3,000 ปี มีอะไรบ้างที่สืบทอดมาถึงเราบ้าง
และสองห้องสุดท้าย คือ มองไปข้างหน้า และ ตึกเก่าเล่าเรื่อง ซึ่งห้องมองไปข้างหน้า เป็นการใช้กล้อง กับโปรเจคเตอร์ร่วมกัน ทำให้เราเขียนข้อความ แล้วไปยืน กล้องจะจับเรา แล้วทำรูปความคิดออกมาจากหัวเราได้จ้ะ พอเราเดินมันก็ตามเราไปด้วย เจ๋งดีแหะ
เพราะว่าเขาใช้วิธีเล่าเรื่อง และผสมความเป็น Interactive คือ ให้ผู้ชมเกิด ปฏิสัมพันธ์ กับ ตัวนิทรรศการ นั่นเอง ทำให้เราสามารถใช้ประสาทสัมผัสครบทั้ง 6 เลย ไม่ใช่แค่พิพิธภัณฑ์กากๆ อย่างที่คิดกันหรอกน้ะจ้ะ
สุดท้ายขอบคุณ National Discovery Museum Institute หรือ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ครับ ที่ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ดีๆ มีประโยชน์ให้
ส่วน แผนที่ วิธีไป ได้บรรยายไว้ในหัวข้อ ไป พิพิธภัณฑ์สยาม มาแล้ว เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
สนใจก็แวะไปดูกันได้น่ะ
ความคิดเห็น