ปีที่แบ่งตามรอบพระอาทิตย์ (สุริยคติ) มี 2 แบบ คือ
1. ปกติสุรทิน คือ มี 365 วัน
2. อธิกสุรทิน คือ มี 366 วัน (เดือนกุมภาฯมี 29 วัน)
การคำนวน ปีอธิกสุรทิน
ตรงนี้บางท่านจะจำได้แต่เพียง ว่า หาร 4 ซึ่งไม่ใช่แค่นั้นครับ
ความจริงแล้ว จะมีสูตรคำนวณที่ถูกต้องคือ
ให้เอา ค.ศ.ตั้ง แล้วเอา 4 หาร หากหารลงตัวก็ใช่
ยกเว้น 100 หารลงตัว แต่หาก 400 ลงตัวก็ให้นับเป็นอธิกสุรทินด้วย
(เช่น ปี 1900 ไม่เป็นอธิกสุรทิน แต่ปี 2000, 2004 เป็นปีอธิกสุรทิน)
ปีที่แบ่งตามรอบพระจันทร์ (จันทรคติ) แบ่งเป็น 3 คือ
1. ปกติมาส-ปกติวาร (บางที่เขียนย่อ เป็น ปกติมาส-วาร)
คือ ปีที่เป็นปกติ มีเดือนคู่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 15 วัน
และมีเดือนคี่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 14 วัน
รวมวันใน 1 ปี เป็น (30*6+29*6) = 354 วัน
2. ปกติมาส-ปีอธิกวาร (บางที่เรียกเป็น อธิกวาร)
คือ ปีที่เป็นปกติ แต่เดือน 7 จะมีข้างแรม 15 วัน
รวมวันใน 1 ปี เป็น 354+1 = 355 วัน
3. ปีอธิกมาส-ปกติวาร (บางที่จะเรียกเป็น อธิกมาส)
คือ ปีที่มีเดือนแปดเพิ่มอีกเดือน หรือที่เรียกกันว่า มีเดือนแปดสองหน
รวมวันใน 1 ปี เป็น 354+30 = 384 วัน
และจะไม่มีปีใดที่เป็น "อธิกมาส-อธิกวาร" หรือ
ไม่มีปีไหนที่เป็นทั้งเดือนแปดสองหนและ เดือน 7 เพิ่มอีกวันไปพร้อมๆกัน
สูตรคำนวณดิถีจันทร์ : (((JD-2454000.98958)/29.530588*4000) mod 4000)/1000 mod-หารเอาแต่เศษ
โดยที่ JD เป็นวันจูเลียน (หรือหรคุณจูเลียน) นั่นคือจำนวนวัน ที่นับจากวันที่ 1 มกราคม ก่อนคริสต์ศักราช 4713 ปี เวลา 12 นาฬิกา 0 นาที 0 วินาที จนถึงวันที่ต้องการหา
มาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ( หรือ เดือน 4 ในปี อธิกมาส )
วันสิ้นปีจันทรคติ หรือ วันตรุษ แรม 15 ค่ำเดือน 4 วันสิ้นจุลศักราช
วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ( หรือ เดือน 7 ในปี อธิกมาส )
วันอัฏฐมีบูชา เก็บพระอัฏฐิพระพุทธเจ้า แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ( หรือ เดือน 7 ในปี อธิกมาส )
วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ( หรือ เดือน 8 หนหลัง ในปี อธิกมาส )
วันเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ( หรือ เดือน 8 หนหลัง ในปี อธิกมาส )
วันข้าวประดับดิน หรือ วันข้าวบิณฑ์ แรม 14 ค่ำเดือน 9
วันข้าวสลากกัต ข้าวสาก ก๋วยสลาก วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10
วันสารทไทย วันครึ่งปี แรม 15 ค่ำเดือน 10 ( 6 หรือ 7 เดือนหลังวันตรุษข้อ 2 )
วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
วันตักบาตรเทโว และเริ่มเทศกาลกฐิน แรม 1 ค่ำ เดือน 11
วันลอยกระทง และ สิ้นสุดเทศกาลกฐิน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
วันสิ้นปีทางจันทรคติแบบสุโขทัย แรม 15 ค่ำ เดือน 12 วันสิ้นปีนักษัตร
ref : http://www.horasaadrevision.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=129532&Ntype=4, http://legacy.orst.go.th/wp-content/uploads/royin-ebook/336/FileUpload/1334_2786.pdf, https://trang82.wordpress.com/2012/05/04/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/, ปฏิทินการแพทย์แผนไทย วัฒนา ชยธวัช วิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี, https://www.yongchieng.com/buddhist-holy-day-calendar, https://www.wikiwand.com/th/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5, http://wikipedia.th.nina.az/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C
ความคิดเห็น
มีแค่ 2 เงือนไข
1. ปี ค.ศ.ที่หารด้วย 400 ลงตัว เป็นปีอธิกสุรทิน เช่น ค.ศ. 2000, ค.ศ. 2400
ถ้า ข้อ 1 ไม่เป็น ก็ทำข้อ 2 ต่อ
2. ปี ค.ศ.ที่หารด้วย 4 ลงตัว แต่หารด้วย 100 ไม่ลงตัว เป็นปีอธิกสุรทิน เช่น ค.ศ. 2004, ค.ศ. 2024
นอกจาก 2 เงือนไขนี้แล้ว เป็ฯ ปี ปรกติหมด