จากบทความยื่นภาษีอันแรก เมื่อ 12 ปีก่อน ตอนที่ข้อมูลการยื่นภาษีออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตไม่เยอะแยะขนาดนี้
ว่าจะเขียนตั้งแต่ปีที่แล้วแล้ว แต่ปีที่แล้วรีบๆ วันนี้มาอัพเดตหน่อยน้ะจ้ะ
หลักการส่วนใหญ่เป็นหลักการเดิม แค่ UI ของกรมสรรพากรที่เปลี่ยนไปเท่านั้นเอง
ใครที่เสียภาษีบ้าง
คนโสดเงินเดือน 16,585 บาท จึงเริ่ม เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
( เงินเดือนอัตรานี้หมายถึง พนักงานที่ไม่มีรายการ ลดหย่อน ใด ๆ นอกเหนือจากประกันสังคม )
ใครที่ต้อง ยื่น ภาษี บ้าง
ถ้าเงินเดือนไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ หากเข้าตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- คนโสดมีเงินได้ทั้งปีเกิน 50,000 บาท
- มีคู่สมรส มีเงินได้ทั้งปีไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 100,000 บาท
ระยะเวลาในการยื่นภาษี
1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี แต่บางปีเขา extend ให้ เช่นปี 2020 นี้ ให้ยื่นได้ถึง 31 August เพราะมี โควิด-19
วิธียื่นภาษีออนไลน์
1. ไปที่ http://rdserver.rd.go.th
2. เลือก ยื่นแบบออนไลน์ > ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา > ภงด 90 / 91
ยื่นแบบออนไลน์ > ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา > ภงด 90 / 91 |
3. ไปที่ ภงด 90 / 91 ยื่นด้วยตัวเอง > ยื่นแบบ ภงด 90/91
ภงด 90 / 91 ยื่นด้วยตัวเอง > ยื่นแบบ ภงด 90/91 |
4. ไปที่ ลงทะเบียนยื่นแบบ ภงด 90/91/94 ทางอินเทอร์เน็ต > บุคคลธรรมดา > สัญชาติไทย
ลงทะเบียนยื่นแบบ ภงด 90/91/94 ทางอินเทอร์เน็ต > บุคคลธรรมดา > สัญชาติไทย |
5. ล็อกอินจย้า หมายเลขผู้ใช้คือ หมายเลขบัตรประชาชน
ถ้าใครยังไม่ลงทะเบียน กลับไปลงทะเบียนหน้าในข้อ 3. ด้านบน
ใครลืมพาสเวิร์ด กด ลืมรหัสผ่าน ถ้าจำคำถาม คำตอบที่เซตไว้ได้จะรีเซตพาสเวิร์ดง่ายหน่อย
ใครลืมพาสเวิร์ด กด ลืมรหัสผ่าน ถ้าจำคำถาม คำตอบที่เซตไว้ได้จะรีเซตพาสเวิร์ดง่ายหน่อย
ล็อกอิน ยื่นแบบภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภงด 90/91 |
6. เลือก ยื่นแบบออนไลน์ > ทำรายการต่อไป
ยื่นแบบออนไลน์ > ทำรายการต่อไป |
7. ถ้าโสด เลือก โสด และ ยื่นปกติ
แต่ถ้าแต่งงานแล้ว เดี๋ยวนี้เขาให้เลือกได้ว่า จะยื่นรวมกับคู่สมรส หรือ จะยื่นแยก ซึ่งคำนวณภาษีให้ดี แบบไหนน้อยกว่าก็ทำแบบนั้นแหละ
สถานภาพผู้มีเงินได้ โสด > สถานะการยื่นแบบ ยื่นปกติ > ทำรายการต่อไป |
8. ต่อไป จะเป็นหน้า บันทึกเงินได้ และ ค่าลดหย่อน
ให้เลือก เงินได้ และ ค่าลดหย่อนที่เรามี
ค่าลดหย่อน เช่น
- คู่สมรส (ที่ไม่มีรายได้)
- มีบุตร
- พ่อแม่อายุเกิน 60 ปี (ไม่มีรายได้)
- ทำประกันชีวิต
- ผ่อนบ้าน
- ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF
- ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF
- เงินบริจาค ถ้า บริจาคเข้า โรงพยาบาล จะลดหย่อนได้สองเท่า ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลของทางราชการที่ หักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 2 เท่า
แต่ถ้า เป็นมูลนิธิ เช่น ศิริราชมูลนิธิ, มูลนิธิร่วมกตัญญู ฯลฯ จะลดหย่อนได้เท่าเดียว ตรวจสอบรายชื่อ มูลนิธิ สมาคม สถานสาธารณกุศล ที่ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอหักลดหย่อนเงินบริจาค
- ค่าลดหย่อนตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในปีนั้นๆ เช่น ค่าซื้อหนังสือ, ค่าท่องเที่ยวเมืองรอง, ค่าซื้ออุปกรณ์กีฬา ( ต้องเก็บบิลไว้ด้วยนะ ถึงจะลดหย่อนได้ )
บันทึกเงินได้ และ ค่าลดหย่อน |
9. กรอกข้อมูล เงินได้พึงประเมิน, ภาษี หัก ณ ที่จ่าย, และ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้จ่ายเงินได้
กรอกข้อมูล เงินได้พึงประเมิน, ภาษี หัก ณ ที่จ่าย, และ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้จ่ายเงินได้ |
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เราสามารถลอกมาจาก หนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ ที่บริษัทแจกมาให้
หนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ ที่บริษัทแจกมาให้ |
10. บันทึกลดหย่อน
มีลดหย่อนอะไรก็กรอกๆไปจย้า
บันทึกลดหย่อน |
11. บันทึกเงินบริจาค
ถ้าชำระภาษีไว้เกิน สามารถ บริจาคอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง และ แสดงความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี ได้
ถ้าชำระภาษีไว้เกิน สามารถ บริจาคอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง และ แสดงความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี ได้ |
12. ยืนยันการยื่นแบบ
ยืนยันการยื่นแบบ |
13. พิมพ์แบบมาเก็บไว้
ผลการยื่นแบบ |
NOTE:
- หนังสือรับรอง ตามมาตรา 50 ทวิ ที่บริษัทออกให้ รวมถึงเอกสารและหลักฐานที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ให้เก็บรักษาไว้ 3 ปี
เนื่องจาก กรม สรรพากร สามารถขอตรวจสอบเอกสารย้อนหลังได้
- ลดหย่อนกองทุนประกันสังคม ได้สูงสุด 9,000 บาท
- ลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 290,000 บาท เป็นเงินได้รับยกเว้นภาษี
- สำหรับ เงินฝากประจำ ธนาคารจะหักภาษีไว้อัตโนมัติ 15%
ถ้าใครเอาดอกเบี้ยเงินฝากประจำมารวมกับเงินได้แล้วเสียภาษีน้อยกว่า 15% เช่น 10%, 5%, หรือไม่ต้องเสียภาษี
เราก็สามารถเอาดอกเบี้ยเงินฝากประจำมารวมกับรายได้ทั้งปี แล้วยื่นได้นะ จะได้เงินคืนกลับมาบ้าง แต่ต้องไปขอ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ธนาคารก่อน
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2560
เงินได้สุทธิต่อปี | อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
0 -150,000 บาท | ไม่ต้องเสียภาษี |
150,000 - 300,000 บาท | 5% |
300,001 - 500,000 บาท | 10% |
500,001 - 750,000 บาท | 15% |
750,001 - 1,000,000 บาท | 20 % |
1,000,001 - 2,000,000 บาท | 25 % |
2,000,001 - 5,000,000 บาท | 30 % |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35 % |
14. สัก 1-2 วันถ้าจะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม จะมี SMS มาตามเบอร์ที่ลงทะเบียนไว้
ให้ท่าน XXXX ตรวจสอบการส่งเอกสารคืนเงินที่ www.rd.go.th |
15. ให้ไปที่ http://www.rd.go.th/publish/27942.0.html
ใส่เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : เลขที่บัตรประชาชน
ชื่อ : นามสกุล :
แล้วกด สอบถาม
บริการสอบถามข้อมูลการคืนเงินภาษี ภงด 90 / ภงด 91 |
16. จะได้มาประมาณนี้
พิจารณาคืนภาษี ขอให้ท่านส่งเอกสาร |
17. ให้กด upload เอกสาร
upload เอกสาร |
18. จะเข้ามาในระบบบริการข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ EDSS
ให้ "+ Upload เอกสาร"
อัพโหลดได้ทีละหลายๆไฟล์นะเธอว์ เลือกหลายๆไฟล์ได้เลย
แต่ห้ามเกิน 20MB นี่ปี 2020 แล้ว ยังห้ามเกิน 20MB อยู่อีกเหรอ
ถ้าไฟล์เยอะแยะ มันอาจจะเกิน ให้พยายาม crop รูปส่วนที่ไม่สำคัญทิ้งไป
พอเสร็จแล้ว กด "ยืนยันการส่ง"
ระบบ EDSS ให้อัพโหลดเอกสาร |
ความคิดเห็น