เพิ่งมาสงสัยว่า โคมไฟใส่หลอดฟลูออเรสเซนต์ของพ่อที่มาตั้งแต่หลายสิบปีก่อน อาจจะมีสนามแม่เหล็ก ( ตัวหลอดไฟไม่น่ามี ที่น่าสงสัยคือ ตัวที่คล้ายหม้อแปลงที่อยู่ที่ฐานของโคมไฟ )
จากการวางใกล้ๆ จอ LED พอเปิดโคมไฟแล้วจอดับไปแป๊ปนึงแล้วถึงมาได้ นั่งทำงานไปนานๆโดยเปิดโคมไฟไปด้วย เปิดจอไปด้วย จอจะดับสักแป๊ปแล้วกลับมาเป็นช่วงๆ
ประกอบกับวันนี้คอมเดี้ยง Sleep Wake Failure (MacOS) (หรือเพราะวางใกล้ ? เกี่ยวไม่เกี่ยวไม่รู้แหะ)
โคมไฟสำรองอันที่เป็น ikea MORKER ที่มาจากออสเตรเลียก็ไม่ใช่ LEDใช้ไฟตั้ง 25W แถมหัวพลาสติกหักอีก
เลยคิดว่าจะซื้อใหม่ดีกว่า ตามไปไฟที่ขายอยู่ตามท้องตลาดดูค่อนข้างหลากหลายมากๆ
มีไปส่องๆ ไว้
Xiaomi
https://www.mi.com/global/mi-led-desk-lamp-1s
ไฟอันเดียวมีสามโหมดเลย
* โหมดโฟกัส สามารถกำหนดระยะเวลาที่อ่าน และ เวลาที่จะพักสายตา โดยโคมไฟจะเตือนผู้ใช้ โดยกระพริบไฟเพื่อให้ผู้ใช้พักสายตาในระยะเวลาที่กำหนดไว้
* โหมดอ่านหนังสือ 4000K ความสว่าง 100% ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านอ่านหนังสือได้ยาวนาน ตาไม่เมื่อยล้า
* โหมดใช้งานคอมพิวเตอร์ แสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์สามารถทำอันตรายต่อสายตาได้ โคมไฟปรับอุณหภูมิสีที่ 2700K สีส้ม เพื่อลดทอนแสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันสายตาของผู้อ่าน
Ikea
เดนมาร์กชอบสีแบบ warm white (2700K - 3000K) สังเกตได้จากโคมไฟหลายๆรุ่น
ความสว่างแม่งหลากหลายมาก 100 - 450 lumen
แล้วบทความแนะนำในเน็ตแม่งหลากหลายสัสๆ
* ควรใช้แสงสีนวล (warm white) 3000K -- will not disturb your sleep.
หรือ Cool White (4500K)
บางคนก็บอกให้ใช้ day light
อะไรกันแน่วะ
คิดไปคิดมาน่าจะไปพึ่งวิชา วิศวกรรมส่องสว่าง ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ตอนมหาลัยดันไม่ได้ลงไว้
เลยลองไปคุ้ยดูมาตรฐานดู ปรากฎว่า มีจย้า
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561
งานประจำในสำนักงาน เช่น งานเขียน งานพิมพ์ งานบันทึกข้อมูล การอ่านและ
ประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บแฟ้ม
ค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์/ลูเมนต่อตารางเมตร ) : 400-500
ที่มา : http://legal.labour.go.th/2018/images/law/Safety2554/3/s_1017.pdf
ที่มา : http://phitsanulok.labour.go.th/2018/16-2015-12-03-04-41-18/888-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-2
ซึ่งฉบับเก่า ( พ.ศ. 2549 ) กำหนดไว้ 600 lux
ห้องคอมพิวเตอร์
- งานบันทึกข้อมูล ค่าความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์) : 600
ที่มา : กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549
มาตรฐานของฝรั่งก็มีนะ
มาตรฐาน CIE
ISO 8995:2002(E)
CIE S 0008/E-2001
22. Offices
Writing, typing, reading, data processing : 500 lux
More : https://www.academia.edu/8359629/Lighting_of_indoor_work_places
มาตรฐาน IES
ขี้เกียจหาและ น่าจะประมาณ 400-500 lux น่าจะใช้ได้
ทีนี้ lux กับ lumen คืออะไร คุ้นๆว่าตอน มัธยมเคยเรียน แต่คืนครูไปหมดแล้ว
Lux กับ Lumen
มีเวปฝรั่ง ทำเครื่องคำนวณไว้ ใช้สะดวกมาก สามารถใส่ได้สองแบบ คือ
ตัวอย่างที่1 ให้พื้นที่รับแสงมา
ติดหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ 40 วัตต์ จำนวน 2 หลอด มีตัวสะท้อนแสง ให้พลังงานแสงทั้งหมดตกลงบนพื้นห้อง 20 ตารางเมตร ถ้าหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ 40วัตต์ มีอัตราการให้พลังงานแสง 2700 ลูเมน ให้หาความสว่างบนพื้นห้องนี้
วิธีทำ ความสว่างบนพื้นห้อง = อัตราการให้พลังงานแสงของหลอดไฟฟ้า / พื้นที่ของห้อง
= 2700 x 2 / 20
= 270 ลักซ์
ดังนั้นความสว่างบนพื้นห้องเท่ากับ 270 ลักซ์
ที่มา : https://sites.google.com/site/carefullpattara/hnwy-thi-2/2-2-khwam-swang
ตัวอย่างที่2 ให้ระยะห่างจากพืนทีผิว
แหล่งกําเนิดแสง 25.14 ลูเมนห่างจากพืนทีผิวเป็นระยะห่าง 4 เมตร จงหาค่าความส่อง
สว่างทีเกิดขึนที่พืนผิวนัน ในหน่วยของ ลักซ์ (Lux) และ ฟุตแคนเดิล (fc)
ทดลองกับ หลอดฟิลิปส์ ฟลูออเรสเซนต์หลอดสั้น ที่ใช้กับโคมไฟที่มีอยู่
tld 10W/54
425 lm.
ห่างจากหนังสือบนโต๊ะ ประมาณ 1 ฟุต
ได้ความส่องสว่างประมาณ 364 lux ถือว่าน่าจะโอเค
โคมไฟบางเจ้าแม่งโฆษณาว่าได้ไฟที่ส่องตรงๆ พันกว่าlux บ้าไปแล้ว ถ้าไม่ลดความสว่างลงมา ตาจะเสียหมดป่ะ
ระวังเปิดจ้ามากๆ ถ้าไปตรวจจะเจอรูที่ตา 500 รู
Luminous flux ( lumen ) v.s. Illuminance ( lux )
แต่บางเจ้าให้ Illuminance เป็น lumen มาด้วย
รูปข้างล่างอธิบายได้ดีมาก
ปล. หลังจากไปดู spec ของโคมไฟตั้งโต๊ะ ที่ขายๆกัน ใน marketplace ทั้งหลาย พวก shopee, lazada
ไอพวก spec ที่คนก็อปกันไป ก็อปกันมา บางอันตัวเลขแม่งมั่ว แนะนำให้ไปดูสเปคของเวป Official จะชัวร์สุด
lm ของ LED เรียงๆกัน lm น่าจะต่อหลอด อาจจะต้องคูณ จำนวนหลอด ?
บทความนี้เกิดจากการหาข้อมูล ถ้าผิดตรงไหนบอกด้วย
ต้องจริงจังขนาดนี้ไหมเนี่ย ...
จากการวางใกล้ๆ จอ LED พอเปิดโคมไฟแล้วจอดับไปแป๊ปนึงแล้วถึงมาได้ นั่งทำงานไปนานๆโดยเปิดโคมไฟไปด้วย เปิดจอไปด้วย จอจะดับสักแป๊ปแล้วกลับมาเป็นช่วงๆ
ประกอบกับวันนี้คอมเดี้ยง Sleep Wake Failure (MacOS) (หรือเพราะวางใกล้ ? เกี่ยวไม่เกี่ยวไม่รู้แหะ)
โคมไฟสำรองอันที่เป็น ikea MORKER ที่มาจากออสเตรเลียก็ไม่ใช่ LEDใช้ไฟตั้ง 25W แถมหัวพลาสติกหักอีก
เลยคิดว่าจะซื้อใหม่ดีกว่า ตามไปไฟที่ขายอยู่ตามท้องตลาดดูค่อนข้างหลากหลายมากๆ
มีไปส่องๆ ไว้
Xiaomi
https://www.mi.com/global/mi-led-desk-lamp-1s
ไฟอันเดียวมีสามโหมดเลย
* โหมดโฟกัส สามารถกำหนดระยะเวลาที่อ่าน และ เวลาที่จะพักสายตา โดยโคมไฟจะเตือนผู้ใช้ โดยกระพริบไฟเพื่อให้ผู้ใช้พักสายตาในระยะเวลาที่กำหนดไว้
* โหมดอ่านหนังสือ 4000K ความสว่าง 100% ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านอ่านหนังสือได้ยาวนาน ตาไม่เมื่อยล้า
* โหมดใช้งานคอมพิวเตอร์ แสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์สามารถทำอันตรายต่อสายตาได้ โคมไฟปรับอุณหภูมิสีที่ 2700K สีส้ม เพื่อลดทอนแสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันสายตาของผู้อ่าน
Ikea
เดนมาร์กชอบสีแบบ warm white (2700K - 3000K) สังเกตได้จากโคมไฟหลายๆรุ่น
ความสว่างแม่งหลากหลายมาก 100 - 450 lumen
แล้วบทความแนะนำในเน็ตแม่งหลากหลายสัสๆ
* ควรใช้แสงสีนวล (warm white) 3000K -- will not disturb your sleep.
หรือ Cool White (4500K)
บางคนก็บอกให้ใช้ day light
อะไรกันแน่วะ
คิดไปคิดมาน่าจะไปพึ่งวิชา วิศวกรรมส่องสว่าง ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ตอนมหาลัยดันไม่ได้ลงไว้
เลยลองไปคุ้ยดูมาตรฐานดู ปรากฎว่า มีจย้า
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561
งานประจำในสำนักงาน เช่น งานเขียน งานพิมพ์ งานบันทึกข้อมูล การอ่านและ
ประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บแฟ้ม
ค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์/ลูเมนต่อตารางเมตร ) : 400-500
ที่มา : http://legal.labour.go.th/2018/images/law/Safety2554/3/s_1017.pdf
ที่มา : http://phitsanulok.labour.go.th/2018/16-2015-12-03-04-41-18/888-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-2
ซึ่งฉบับเก่า ( พ.ศ. 2549 ) กำหนดไว้ 600 lux
ห้องคอมพิวเตอร์
- งานบันทึกข้อมูล ค่าความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์) : 600
ที่มา : กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549
มาตรฐานของฝรั่งก็มีนะ
มาตรฐาน CIE
ISO 8995:2002(E)
CIE S 0008/E-2001
22. Offices
Writing, typing, reading, data processing : 500 lux
More : https://www.academia.edu/8359629/Lighting_of_indoor_work_places
มาตรฐาน IES
ขี้เกียจหาและ น่าจะประมาณ 400-500 lux น่าจะใช้ได้
ทีนี้ lux กับ lumen คืออะไร คุ้นๆว่าตอน มัธยมเคยเรียน แต่คืนครูไปหมดแล้ว
Lux กับ Lumen
ที่มาของรูป https://blog.rmutl.ac.th/montri/assets/022.pdf
มีเวปฝรั่ง ทำเครื่องคำนวณไว้ ใช้สะดวกมาก สามารถใส่ได้สองแบบ คือ
- ใส่ระยะห่างจากพืนทีผิว หรือ
- ใส่พื้นที่รับแสง มีหน่วยเป็นตารางเมตร
ตัวอย่างที่1 ให้พื้นที่รับแสงมา
ติดหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ 40 วัตต์ จำนวน 2 หลอด มีตัวสะท้อนแสง ให้พลังงานแสงทั้งหมดตกลงบนพื้นห้อง 20 ตารางเมตร ถ้าหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ 40วัตต์ มีอัตราการให้พลังงานแสง 2700 ลูเมน ให้หาความสว่างบนพื้นห้องนี้
วิธีทำ ความสว่างบนพื้นห้อง = อัตราการให้พลังงานแสงของหลอดไฟฟ้า / พื้นที่ของห้อง
= 2700 x 2 / 20
= 270 ลักซ์
ดังนั้นความสว่างบนพื้นห้องเท่ากับ 270 ลักซ์
ที่มา : https://sites.google.com/site/carefullpattara/hnwy-thi-2/2-2-khwam-swang
ตัวอย่างที่2 ให้ระยะห่างจากพืนทีผิว
แหล่งกําเนิดแสง 25.14 ลูเมนห่างจากพืนทีผิวเป็นระยะห่าง 4 เมตร จงหาค่าความส่อง
สว่างทีเกิดขึนที่พืนผิวนัน ในหน่วยของ ลักซ์ (Lux) และ ฟุตแคนเดิล (fc)
ทดลองกับ หลอดฟิลิปส์ ฟลูออเรสเซนต์หลอดสั้น ที่ใช้กับโคมไฟที่มีอยู่
tld 10W/54
425 lm.
ห่างจากหนังสือบนโต๊ะ ประมาณ 1 ฟุต
ได้ความส่องสว่างประมาณ 364 lux ถือว่าน่าจะโอเค
โคมไฟบางเจ้าแม่งโฆษณาว่าได้ไฟที่ส่องตรงๆ พันกว่าlux บ้าไปแล้ว ถ้าไม่ลดความสว่างลงมา ตาจะเสียหมดป่ะ
ระวังเปิดจ้ามากๆ ถ้าไปตรวจจะเจอรูที่ตา 500 รู
Luminous flux ( lumen ) v.s. Illuminance ( lux )
แต่บางเจ้าให้ Illuminance เป็น lumen มาด้วย
รูปข้างล่างอธิบายได้ดีมาก
ที่มา : https://sensing.konicaminolta.us/us/blog/luminance-vs-illuminance/
ปล. หลังจากไปดู spec ของโคมไฟตั้งโต๊ะ ที่ขายๆกัน ใน marketplace ทั้งหลาย พวก shopee, lazada
ไอพวก spec ที่คนก็อปกันไป ก็อปกันมา บางอันตัวเลขแม่งมั่ว แนะนำให้ไปดูสเปคของเวป Official จะชัวร์สุด
lm ของ LED เรียงๆกัน lm น่าจะต่อหลอด อาจจะต้องคูณ จำนวนหลอด ?
บทความนี้เกิดจากการหาข้อมูล ถ้าผิดตรงไหนบอกด้วย
ต้องจริงจังขนาดนี้ไหมเนี่ย ...
ความคิดเห็น