จดๆมา
* การไม่มีตัวกลาง (มนุษย์ถ้ำ) -> ตัวกลาง (ธนาคาร) (เป็นกลางจริงหรือไม่, ดีอย่างไร) -> Decentralization (ดีอย่างไร)
* Decentralized finance (DeFi) จะมาฆ่าแบงค์?
เงินแบบใหม่มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อให้เงินเป็นเงินอยู่
* มุมเศรษฐศาสตร์: ชำระเงิน, ปล่อยกู้(สินเชื่อ) กู้ยืม ดอกเบี้ย, แลกเปลี่ยน, ทำประกัน, การพิมพ์เงิน, ทำอนุพันธ์ บน public blockchain (bitcoin, etherium, etc.) แล้ว work ไหม
* เอาหุ้นไปออกเป็นเหรียญ เพื่อระดมทุนไปผลิตสินค้าและบริการ และ จ่ายผลกำไรกลับมา
แต่เหรียญไม่ได้แจกกำไร, คนได้เงินจากการเทรดเหรียญ
* หุ้นกู้, กอง reit
เช่น real world asset tokenization ทำให้ซื้อขายง่าย โอนง่าย เช่น เอาอสังหามาเปลี่ยนเป็น token แล้วไปซื้อขาย (คล้าย reit คือ กองรวมกันแล้วซื้อขายเป็นหน่วยย่อย)
ข้อดี:
- ต้องขออนุญาตเพื่อความเชื่อมั่น มีคนคัดกรองแล้วว่าของดี โอกาสโดนโกงน้อย รู้ว่าใครทำผิด รู้ว่าจะลงโทษเขายังไง ถ้าทำไม่ดีสังคมไม่เชื่อถือคนนี้อีก
เหรียญ Destiny token, Origin real estate token (คล้ายหุ้นกู้)
ข้อดี
- ต้นทุนถูกกว่า
ข้อเสีย:
- เนื่องจากเป็นของใหม่: ถ้าเสียหายใครจะรับผิดชอบ ใครจะสร้างความเชื่อมั่น ไม่ปฏิบัติตามสัญญา มีกลไกอะไรเอาเงินคืน ศาลรับฟ้องไหม กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กลต เช่น การฉ้อโกง Lunar coin
ควรเอามาตรการทางกฎหมาย มาปรับให้ดีขึ้น
- (รวมถึงเหรียญของ Hedge Fund ต่างประเทศ) ณ ปัจจุบัน ตลาดรองคนยังไม่เยอะ (Volume trade ค่อนข้างน้อย มีคนสนใจลงทุนที่มีความเห็นต่างกันไม่เยอะ (ถ้าคนคิดว่าหุ้นจะขึ้น และ หุ้นจะลง จำนวนพอๆกันและซื้อขายตลอด สภาพคล่องจะสูงตามไปด้วย)) ราคาเหรียญยัง swing สูง ทำให้ยังเป็นนักลงทุนแบบนักเก็งกำไรมากกว่า ไม่มีนักลงทุนระยะยาว (ถ้าไม่มีใครอยากซื้อ หรือไม่มีใครสนใจ จะเก็บที่ไหนก็ไม่มีใครอยากซื้ออยู่ดี)
โลกปกติปัจจุบัน: ขออนุญาตการเงิน, มีการอบรม, บางอย่างทำแล้วผิดกฎหมาย
มีคนตรวจสอบ มีเงินอยู่จริงในธนาคารสามารถใช้เงินได้ ตั้งอยู่บนความเชื่อมั่น เราจะถอนเงินเมื่อไหร่ก็ได้
อาศัยกติกา ควบคุม เบื้องหลังในการจ่ายชำระไม่เหมือนกันเลย เช่น เงินสด บัตรเครดิต เงินดิจิตอล
ดิจิตอล: public blockchain:
* ไม่ต้องการอยู่ใต้กติกาของ trusted 3rd party เช่น บริษัทเอกชนและรัฐ, รักษาความเป็นส่วนตัว, ไม่มีการเปิดเผยตัวตน (Pseudonymous) ไม่ต้องยื่นบัตรประชาชนเปิดบัญชี
* มั่นใจว่าไม่มีใครระงับธุรกรรมเรา (แก้ปัญหาแบงก์จะริบเงินเราเมื่อไหร่ก็ได้)
* ใครจะทำอะไรก็ได้ (Permissionless) เช่น ปล่อยกู้; คนไม่มีtrack recordไม่เคยทำธุรกิจมาระดมทุนได้ ไม่ต้องใช้ผลกำไร งบการเงินย้อนหลัง; คล้ายทำอาหารกินในวงกว้างแบบไม่ต้องขออย, เอากฎหมายทิ้งไปหมด อยากจะทำอะไรก็ทำ -> เอาปัญหากลับมาหมดเลย แล้วหวังว่า user มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือยอมรับปัญหาด้วยตัวเอง
* ทุกวันนี้การทำธุรกรรมอยู่บนพื้นฐานความไว้เนื้อเชื่อใจ แต่ถ้าไม่รู้จักกันจะอยู่บนพื้นฐานของหลักประกัน(หรือชื่อเสียง แต่ชื่อเสียงไม่สามารถสร้างได้ใน blockchain) ตัวอย่างเช่น ปล่อยกู้เงิน(สินเชื่อ)อยู่บนพื้นฐานของหลักประกัน ให้เงินตามมูลค่าหลักประกัน เช่น แบงก์ ร้านทอง โรงรับจำนำ (เช่น รับซื้อหม้อหุงข้าวต่ำกว่าราคาตลาด สามารถไปขายต่อได้)
ข้อจำกัดของ blockchain
* ช้า เมื่อเทียบกับ database แบบดั้งเดิม performance แย่กว่า database ดั้งเดิม (เขียนลง block ต่อเป็น chain มี verify: เนื่องจากอยู่บนโลกที่ไม่เชื่อใครเลย (permissionless) ไม่เชื่อผู้ให้บริการฐานข้อมูลที่อาจผูกขาดสิทธิโดยคนใดคนหนึ่ง จึงต้องทำท่านี้, แต่ปัจจุบันคนรู้จักกัน(โอนเงินต้องสแกนหน้า)ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้ blockchain)
บางอย่างทำบน database ธรรมดาก็ได้ เช่น ท่าเรือทำ track supplychain ซึ่งตอนนี้ปิดตัวไปเยอะแล้ว
* ไม่เปิดเผยตัวตน ไม่ทราบว่าใครเป็น Founder ของบริษัท ถ้ามีการระดมทุน อาจระดมทุนแล้วทิ้งเลย เพราะรวยแล้ว หรือขอให้เปิดเผยตัวตนก็เชื่อถือไม่ได้ เพราะใน blockchain สามารถสร้างบัญชีใหม่ได้เสมอ สามารถสร้างตัวตนใหม่ได้เสมอ (เบี้ยวหนี้, ผิดกฎหมาย ไม่มีเครดิตบูโร ไม่มีประวัติให้เห็น)
* ฉ้อโกงได้ กลับไปแก้ไขไม่ได้ บันทึกแล้วต้องเป็นไปตามนั้น (blockchain โปร่งใส ตรวจสอบได้ ในสิ่งที่เกิดขึ้นในนั้น แต่ถ้าไม่ได้เกิดขึ้นในนั้นไปดีลกันมาแล้วมาบันทึกก็เกิดขึ้นได้เหมือนกัน)
* public blockchain ข้อมูลเข้าถึงได้โดยคนทั่วไป คนอื่นจะรู้ธุรกรรมทุกอย่างว่าเราทำ เราสามารถย้อนกลับได้ว่าเราเป็นใคร เช่น ไปสังเกตว่าไปกินชานมทุกๆ 9 โมงเช้า 3-4 ครั้งแล้วรู้ว่ามีธุรกรรมเกิดขึ้น สามารถ identify ได้ว่าเป็นคนนั้น
- ระบบการชำระเงินไม่ต้องเปิดเผยตัวตน: ให้ coin ไป ได้ของกลับมา โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก แต่เมื่อซื้อกาแฟปุ๊ป ถูกเปิดเผยตัวตนทันที
* กรณี Lunar, Terra, สามารถตามไปดูนักลงทุนที่ลงทุนแล้วเจ๊งว่า มี portfolio ลงทุนเยอะแค่ไหน หรือ ลงทุนเสี่ยงแค่ไหนได้
* ใช้เงินจริงซื้อ coin ไป แล้วจู่ๆ coin ไม่มีค่า
* การประกัน: A ไม่สามารถซื้อประกันบ้านให้ B ได้ เพราะ A ไปเผาบ้าน B เอาประกัน แต่ใน blockchain ไม่รุ้ว่าใครเป็นใคร
* บอกว่าจะจ่ายปันผล แต่ไม่จ่ายให้ blockchain ไม่สามารถไปทวงปันผล(หรือดอกเบี้ย)ได้ ต้องพึ่งกลไกอื่นอยู่ดี เช่น นักกฎหมาย ช่วยทวงปันผล
* blockchain ปิดได้ ถ้าทุก node พร้อมใจกันปิดพร้อมกันหมด (Lunar ปิดได้เหมือนกัน)
* เวลาอัพเกรด software ที่ compatible ต้องติดต่อทุกคน upgrade พร้อมกันหมด การพัฒนา software ช้า
* ต้นทุนแพง ซื้อ software เอง ซื้อ hardware เอง -> ไปเช่าบน cloud กลายเป็นทุก node ตั้งอยู่บน datacenter เดียวกัน ทำให้เร็ว แต่ทำให้ล่มได้
ลงทุนมากกว่าผลประโยชน์ที่เราได้จากผลิตภัณฑ์
* private blockchain คนเข้าถึงได้ไม่กี่คน ซึ่งคนสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรบน blockchain ได้ ทำให้สิ่งที่ blockchain จะให้มันจำกัด
database <-- private blockchain(ไปไม่สุดซักทาง: เสีย permissionless, แถมแพง) ---> public blockchain
ข้อดี
blockchain หรือ BIS ให้ธนาคารกลางแต่ละที่ร่วมมือกันทำฐานข้อมูลเดียวกัน
ใครเป็นเจ้าของ ระแวงไหมว่าใครแอบแก้ข้อมูลโดยพลการ
v.s. โอนข้อมูลข้ามฐานข้อมูลที่อยู่คนละแบงก์ (แบงก์ที่รับเงินกลายเป็นลูกหนี้เราแล้ว และต้องขนเงินตามไป)
สร้างความมั่นใจระหว่างกัน เชิญชวนมาใช้ฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบางอย่าง
คล้ายแทนที่จะขายข้ามตลาดก็รวมตลาดอยู่ที่เดียว
สัพเพเหระอื่นๆ:
* Technology hype cycle เช่น bit coin, generative A.I., etc.
บริการของ SET
- NDID บริการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้สินค้าหรือบริการ โดยที่ไม่ต้องไปธนาคาร
- ELG บริการหนังสือประกันสินค้า letter of guarantee ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ทำ import, export ได้
- ซื้อพันธบัตรทาง App ผ่าน blockchain ได้
เงิน
จะมั่นใจได้อย่างไรว่าอีกฝั่งจะคืนเงินให้เรา (ทั้ง ไปฝากเงิน หรือ เอาเงินไปลงทุน) (มีทั้งความสามารถและความยินยอมที่จะชำระ)
สัญญาการเงิน (บันทึกบน กระดาษ ดิจิตอล หรือ blockchain) ต้องมั่นใจได้ว่าสัญญาจะลุล่วงไปตามนั้น รัฐเป็นผู้บังคับใช้สัญญา, กำหนดว่าสัญญาห้ามทำเพราะขัดต่อศีลธรรมอันดี, การฉ้อโกง ให้ข้อมูลผิด บิดเบือน
บ.จำกัดไม่สามารถขายหุ้นให้ประชาชนในวงกว้าง มีกลไกบางอย่างเพื่อให้ประชาชนที่ไม่รู้ไว้ใจได้
เงินมีค่าเพราะคนเชื่อมั่นในรัฐบาลที่ออกเงิน
1) เงินนอก (เงินมายา): เกิดตามธรรมชาติ เช่น ทองคำ: ทุกคนอยากได้
coin ที่ไม่ได้ตรึงกับ $ (เช่น Lunar coin): ทุกคนเชื่อว่ามีราคา
coin ตรึงอัตราแลกเปลี่ยน (เช่น Terra coin): พอไปซื้อ coin ที่ไม่ตรึงกับ $ ได้ ก็คือเงินมายาซ้อนเงินมายาอีกที
ถ้าคนหมดความเชื่อถือ ก็หมดค่า
2) เงินใน (เงินหนี้) เกิดบนพื้นฐานความเชื่อว่า ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
เงินในแบงก์: ถ้ามีเงิน 100 บาทในแบงก์ สามารถไปใช้จ่ายที่อื่นได้ เดี๋ยวแบงก์ตามไปชำระหนี้ให้ (แบงก์เป็นลูกหนี้เราอีกที)
เงินใน silicon valley bank ไม่มีใครเชื่อ
อยู่บนพื้นฐานที่ว่า เราอยากเป็นเจ้าหนี้กันต่อไหม
ความคิดเห็น