ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อยู่เหงาๆ เลาไปเที่ยว -- Museum of Contemporary Art Bangkok พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย


สวัสดีจย้ะ วันนี้เลาจะพาไปชม พิพิธภัณฑ์ อีก พิพิธภัณฑ์หนึ่ง หลังจากที่เคยพาไป Museum Siam, นิทรรศน์รัตนโกสินทร์, พิพิธภัณฑ์วัดไตรมิตร, BACC, และ Jim Thomson Museum มาแล้ว

นั่นก็คือ Museum of Contemporary Art Bangkok หรือ MOCA ของเจ้าสัว บุญชัย เบญจรงคกุล แห่ง DTAC นั่นเองน้ะจ้ะ


ต้องขออารัมภบทว่า เราเองได้รู้เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มานานพอสมควรแล้ว ว่า เป็นพิพิธภัณฑ์งานศิลป์สะสมของท่านเจ้าสัว โดยเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชม
ติดตรงที่ราคาค่าเข้าแพงไปนิสนึง แต่เลาก็เข้าใจ เพราะว่า รูปแต่ละรูป ราคาก็ไม่ใช่น้อยๆเลยทีเดียว


วันนี้มีโอกาสที่เขาเฉลิมฉลอง อาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ( Silpa Bhirasri ) คนเบี้ยน้อยอย่างเลา จึงได้มีโอกาสเข้าไปชื่นชมความงามของจักรวาลบ้าง

MOCA Bangkok

พิพิธภัณฑ์มีห้าชั้น ความรู้สึกแรกที่เห็นนี่ค่อนข้างตกใจเพราะเป็นตึกใหญ่โตทีเดียว
ไปจากอนุสาวรีย์หรือจตุจักร นั่งรถทางวิภาวดีไปลง ตรงข้าม ม เกษตร แถวๆ โรงพยาบาลวิภาวดี แล้วเดินอีกนิดหน่อย
ต่อไปน่าจะสะดวกเพราะมี รถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีบางเขน อยู่ไม่ไกลมาก


ภายในบรรจุ งานศิลป์ ของ ศิลปินแห่งชาติ ผู้ยิ่งใหญ่หลายท่าน เช่น ถวัลย์ ดัชนี, อังคาร กัลยาณพงษ์, ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, และ อื่นๆ อีกมากมาย


รวมถึงมีงานของฝรั่ง ในห้อง Richard Green ซึ่งเป็นห้องเดียวในพิพิธภัณฑ์ที่ห้ามถ่ายรูป

ภาพ ไตรภูมิ สุดยอดอลัง ฮายโซว อำมาตย์ อิไล้ ขนาดตึกสองสามชั้น โดย สามศิลปิน
สมภพ บุตราช, ปัญญา วิจินธนสาร, และ ประทีป คชบัว

รูปปั้นเทวดาตื่นตกใจ Salvador Dali

รูปปั้น นมหลายนม ประติมากรรมดอกบัว ที่ใครๆมาที่นี่ก็ต้องถ่าย 

Museum of Contemporary Art, Bangkok Thailand

เวลาทำการ
อังคาร - ศุกร์    10.00 - 17.00
เสาร์ - อาทิตย์  11.00 - 18.00
หยุดวันจันทร์

ค่าเข้าชม
บุคคลทั่วไป 250 บาท .............. ผู้ใหญ่ 1 คน + นักเรียน 1 คน ....... 300 บาท
นักเรียน/นักศึกษา 100 บาท...... ผู้ใหญ่ 2 คน + นักเรียนไม่เกิน 3 คน ....... 650 บาท
บุคคลที่ได้รับยกเว้นค่าเข้าชม : เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี / ผู้ใหญ่อายุเกิน 60 ปี / นักบวช / ผู้ทุพพลภาพ / มัคคุเทศก์

รายละเอียดดูจาก Official Website น่าจะอัพเดตกว่า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีการไป อย. กระทรวงสาธารณสุขจากหัวลำโพง

ทางไป : รถไฟฟ้า MRT หัวลำโพง ไปลงที่ สถานี กระทรวงสาธารณสุข  ถ้ากดที่ตู้ต้องเปลี่ยนไปหน้าจอสายสีม่วง สนน ราคา 48 53 บาท ต่อมอไซด์ ถ้าไป อย. 20 บาท จากหน้าทางเข้า  ถ้าฝนตกแนะนำให้โบกแท็กซี่จากข้างหน้า ข้างในหาแท็กซี่ยากมาก ถ้าจะเดินประมาณ 2.4 km ให้ระวังหลงเข้าไปรพ ศรีธัญญา รพ ศรีธัญญาพื้นที่ข้างในใหญ่มาก และเหมือนจะล้อมด้วยคลอง เหมือนจะมีทางออกแค่ทางที่เข้าไปนั่นแหละ ทางกลับ : รถเมล์ 97 จาก อย. ตรงข้ามประกันสังคม ทางที่ 1 : ถ้าจะใกล้ลงหน้าปากซอยขึ้นสายสีม่วงที่สถานีกระทรวงสาธารณสุขที่เดิม ทางที่ 2 : ผ่าน ท่าน้ำนนท์​ กลับเรือได้ ทางที่ 3 : ผ่านหน้าพระจอมพระนครเหนือด้วยนะ ผ่าน สถานีรถไฟฟ้า MRT บางซื่อ  ( จาก อย. ไป MRT บางซื่อ 17 บาท,  จาก MRT บางซื่อ ไป MRT หัวลำโพง 44 บาท นั่งกลับได้ 2 ทาง ทางหัวลำโพง กับ ไปเปลี่ยนที่ท่าพระ ไม่รู้ว่าทางไหนเร็วกว่ากัน ) ทางที่ 4 :  ผ่าน สะพานควาย  ทางที่ 5 :  นั่งถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิได้ ค่ารถเมล์ 21 บาท ค่ารถไฟฟ้าไป BTS สะพานตากสิน 47 บาท 

สอบสัมภาษณ์ MBA คำถามและการเตรียมตัว

 * “แนะนำตนเอง” การแนะนำตนเองไม่ใช่แค่บอกชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งงาน สถานที่ทำงาน หรือ ประวัติการศึกษาเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ต้องพูดถึง แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ส่วนที่สำคัญในการแนะนำตนเองก็คือต้องขายความเป็นตัวตนของเรา ความสามารถของเรา และ/หรือวัตถุประสงค์ในการเลือกเรียนหลักสูตรนี้  พยายามตอบคำถามให้สอดคล้องกับ MBA ไม่ต้องนาน ประมาณ 2–3 นาที เน้นเนื้อ ไม่เน้นน้ำ ซ้อมพูดเยอะๆ ถือว่าเป็น First Impression * ทำไมจึงเลือกสมัครเข้าเรียนหลักสูตรนี้  ทำไมถึงมาเรียน MBA ทำไมอยากเรียน MBA ทำไม อยากเรียนตอนนี้  * ทำไม ต้องเรียน MBA ที่นี่ -- ลองศึกษา Program ของมหาลัยที่จะไปดูน้าว่ามหาลัยมีอะไรเด่น * คิดว่าถ้าเรียน MBA จะมี Challenge อะไรบ้าง * สนใจโปรแกรมอะไรบ้าง * หลังเรียนจบอยากทำอะไร * ต้องการอะไรจากหลักสูตรนี้  เรียนแล้วคิดว่าจะได้อะไร เอาไปใช้อะไรในชีวิต * ทำไมไม่เรียนสาขาอื่น ถ้าอายุงานถึงเรียนอย่างอื่นได้ * ในองค์กรที่ทำงานอยู่สามารถเติบโตได้ถึงตำแหน่งไหน * Performance ปัจจุบันเป้นยังไง  * ดูดีอยู่แล้ว แล้วมาเรียน MBA ทำไม เพราะงานที่ทำ...

ส่งไปรษณีย์ทีละมากๆ ที่ช่องไปรษณีย์สำหรับธุรกิจ

  ถ้าเราส่งไปรษณีย์ทีละ 10 กล่องขึ้นไป สามารถไปส่งโดยใช้ช่องทางธุรกิจได้ โดยต้องกรอกใบรับฝากรวม ( Receipt for bulk Posting ) เป็นลิสต์รายการให้เขาไปด้วย โดยกรอกพัสดุแต่ละรายการ และ ไปยื่นให้เขาพร้อมกับพัสดุที่จะส่ง วิธีกรอก คือ ให้กรอกพัสดุแบบเดียวกันไว้แผ่นเดียวกัน  เช่น พัสดุ10 กล่อง กล่องขนาดเท่ากัน น้ำหนักเท่ากันหมด กรอกไว้ 1 แผ่น ถ้าน้ำหนักต่างกัน ขนาดกล่องต่างกัน กรอกแยกแผ่นไว้ดีที่สุด ซึ่งใบนี้สามารถไปขอได้ที่ไปรษณีย์ฝ่ายธุรกิจ สามารถนำมาทำใส่ A4 ก็ได้ ขอบคุณคุณพี่ amarin.ch ที่ไปรษณีย์กลาง ( BANGKOK G.P.O. ) มากๆ นะครับ สำหรับคำแนะนำ ขอบคุณที่ช่วยคีย์ให้ทีละรายการสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่ามีใบรับฝากรวมอย่างผมด้วยครับ คราวหน้าผมจะทำใบรับฝากรวมไปครับ

OOTOYA อร่อย ^^

เมนูอาหาร กดที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่ อร่อยๆ ^^ ตอนแรกเล็ง เมนูพิเศษของโอโตยะ ไว้ แต่สั่ง สลัดไก่ย่างถ่าน ซอสเบซิล ไป ผักเยอะมากแต่อร่อยดี ยังได้แอบชิมของคนอื่นด้วย ปลาชิมาฮอกเกะย่างถ่าน ตัวเบ้อเริ่มเลยอ่ะ รสคล้ายๆปลาช่อน แล้วก็ของหวาน ไอศกรีมในน้ำเต้าหู้ ที่พี่กุ๋ยบอกว่า เคยเข้ามาที่ร้านแล้วสั่ง อย่างเดียวมาแล้ว ถั่วแดงเขาทำได้อร่อยมาก แต่ดันไม่มีขายถั่วแดงต้มอ่ะดิ เมนูของหวาน กดที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่ ถ้าสั่งเป็นชุด ข้าวเติมฟรี เติมไป 2 ชาม น้ำชาเขียว refill ฟรี ชาเขียวที่นี่เขาใส่งาด้วย เหมือนที่เคยกินที่ร้าน อากะ (AKA) ที่ชั้น 7 centralworld บางคนเขาไม่ชอบกัน แต่เราเฉยๆนะ ก็อร่อยดี ข้อเสีย คือ เสริฟ ช้า ไม่ควรกินไปตอนเร่งรีบ แต่ เล็งไว้ละ ไว้จะไปกินใหม่ สาขา และ เบอร์ติดต่อ กดที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่

คำนวณค่าน้ำมัน

ใครทำไว้ไม่รู้แต่แบบว่าดีย์  ตัวอย่างวิธีคิด  ( น้ำมันลิตรละ 22 บาท/ลิตร ) / ( ใช้น้ำมัน/กิโลเมตรต่อลิตร 10 กม/ลิตร ) * 40 กม = 88 บาท ถ้ารถติดใช้น้ำมัน 10-14 กม. / ลิตร ถ้าทางตรงวิ่งปกติ 15-20 กม / ลิตร ราคารถไฟฟ้าไปกลับ 118 บาท แถมต้องต่อรถหลายต่อดีออก

อยู่เหงาๆ เราไปเที่ยว - พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร Bangkok National Museum

คราวก่อน ไป พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์ ที่อยู่ตรงข้าม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร มาครั้งหนึ่ง แล้วคิดว่า นั่นคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร  พอได้ยินว่า พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ทำใหม่ ก็เลยแวะไป พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์ เพราะนึกว่า นั่นคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร พอไปถึงก็งง ว่าทำไม ไม่มีรูปเหมือนกับที่เวปเขาลงไว้ ตอนหลังมาดูใหม่ จึงเข้าใจว่า จริงๆ แล้ว คนละที่ กัน พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร Bangkok National Museum วันนี้ เราเอง ได้ไปช่วยคนต่างชาติ ที่พลัดหลง โดยบังเอิญ โดยเป็นลุงชาวจีนและหลาน พลัดหลงกับ ลูกซึ่งอายุ 39 ปีแล้วและภรรยาของลูก ซึ่งเขาก็พยายามหาคนที่พูดภาษาจีนได้ในนั้น ซึ่งเราก็ชี้ไปที่ประชาสัมพันธ์ แต่ประชาสัมพันธ์ไม่มีคนพูดจีนได้ แต่ยังไงก็ตามเขาก็พยายามช่วย ต้องขอบคุณคุณพี่สาว และ พี่ชายในห้องประชาสัมพันธ์ ที่ช่วยประสานกับทางวิทยุสื่อสารให้ สุดท้ายคุณลุงก็เจอกับลูกของเขา   พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร  ดูแลโดย  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ก...

อยู่เหงาๆ เราไปเที่ยว - ไหว้พระขอพร ศาลเจ้าแม่ทับทิม (อาม่า), เจริญกรุง, กรุงเทพ; 天后聖母廟, 石龙軍路, 曼谷, 泰国; Thap Thim Chinese Goddess Shrine, Chareon Krung 63 Road, Bangkok, Thailand

天后聖母廟, 石龙軍路, 曼谷, 泰国 ไหว้ศาลเจ้าแม่ทับทิม ขอให้การค้าเจริญรุ่งเรือง ตำนานเจ้าแม่ทับทิมเกิดที่ตำบลตุ้ยบ๊วย เขตบ่นเซียว เกาะไหหลำ มีผู้เฒ่าแซ่พัว เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำงานขยันขันแข็ง ครั้งหนึ่งแกออกไปหาปลา โดยผูกแหเป็นช้อนดักปลา เวลาผ่านไปแกยังหาปลาไม่ได้ คืนนั้นก็ประสบความล้มเหลว เมื่อช้อนแหขึ้นมาทีไรก้อมีแต่ท่อนไม้ ด้วยความโมโหแกเลยขว้างท่อนไม้นั้นออกไปให้ไกล แต่แล้วเมื่อช้อนแหขึ้นมาใหม่ก็ปรากฏท่อนไม้ท่อนเดิมอีก ต่อจากนั้นแกก็ขว้างท่อนไม้ขึ้นฝั่ง และแกก็ฉุก คิดว่าแปลกที่ท่อนไม้ธรรมดาจะสามารถลอยทวนน้ำได้ คงจะเป็นสิ่งวิเศษ และแกก็ได้นำท่อนไม้นั้นขึ้นฝั่ง และเพ่งมองท่อนไม้นั้นพร้อมกับอธิษฐานว่า หากท่อนไม้นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ขอให้คืนนี้จับปลาได้มาก เมื่อพ้นจากความจนแล้ว เมื่อขึ้นฝั่งจะนำท่อนไม้นี้แกะสลักเป็นเทวรูปศักดิ์สิทธิและสักการะบูชาเช้าวันไม่ให้ขาด เมื่ออธิษฐานจบแกเอาท่อนไม้นั้นวางบนหัวเรือ ปรากฏว่าช้อนเพียงสองถึงสามครั้งก็ได้ปลาตัวโตเต็มเรือ จึงนำปลาขึ้นฝั่งวันนั้นปลาของแกขายได้ราคา เพราะชาวประมงคนอื่นจับได้น้อยแกจึงมีเงินจับจ่ายใช้สอย และทุกครั้งที่แกออกหาปลา ...

อยู่เหงาๆ เลาไปเที่ยว - เที่ยวเชียงรายด้วยตัวเอง โดยไม่มีรถ เช่ารถก็ไม่ได้เช่าน้ะจ้ะ นั่งรถสาธารณะล้วนๆแจร้ ตอนแรก : วางแผนเที่ยว

เชียงราย ม่วนใจ๋ ยอมรับเลยว่า หาข้อมูลค่อนข้างยาก กระทู้รีวิว ใน pantip ที่บอกไม่มีรถไป คือ ไม่มีรถส่วนตัวไป สุดท้ายก้อไปเช่ารถขับกันหมด สุดท้ายเลาก็ไปผจญภัยมาจนได้ นี่คือตอนแรกซีรี่ส์เชียงรายของเราน้ะจ้ะ  กล่าวถึงว่า จะไปไหนบ้าง และ วิธีเดินทางในตัวเมืองเชียงราย และ ออกนอกเมืองเชียงรายไปยังที่เที่ยวยังไง 0) ตั๋ว 0 บาท จริงๆ ทริปนี้จับพัดจับผลู ดันกด ตั๋ว 0 บาท ได้ของ VietJet ซึ่งเขาเพิ่งเปิดเส้นทางใหม่ กรุงเทพฯ-เชียงราย เลยมีโปรโมชั่นนี้ออกมา จริงๆ บอกว่า 0 บาท แต่มันมีค่าภาษีสนามบิน ค่าอื่นๆ อีก รวมแล้วไปกลับ 508 บาทน้ะจ้ะ ( ภาษีสนามบิน 100 THB, PMT Fee 77 THB, Admin Fee Domestic Thai 77 THB รวมสองขา 508 บาท รวม VAT เป็น 529.56 บาท ) เวลาค่อนข้างโอเคนะ มีคนเคยบอกว่า low cost เวลาไม่ค่อยโอเค แต่เลาว่าเวลานี่โอเคเลย ขาไป 06.30 สนามบินสุวรรณภูมิ - 07.55 สนามบินแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ขากลับ 15.15 สนามบินแม่ฟ้าหลวงเชียงราย - 16.45 สนามบินสุวรรณภูมิ ขึ้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ (BKK) จย้ะ ไม่ใช่สนามบินดอนเมือง มีคนบอกว่าให้สังเกตรหัสถ้า BKK คือ สนามบินสุวรรณภูมิ อย่าไปผิดส...

ปีอธิกสุรทิน อธิกมาส อธิกวาร และ การทดปฏิทิน

 ปีที่แบ่งตามรอบพระอาทิตย์ (สุริยคติ) มี 2 แบบ คือ 1. ปกติสุรทิน คือ มี 365 วัน 2. อธิกสุรทิน คือ มี 366 วัน (เดือนกุมภาฯมี 29 วัน) การคำนวน ปีอธิกสุรทิน ตรงนี้บางท่านจะจำได้แต่เพียง ว่า หาร 4 ซึ่งไม่ใช่แค่นั้นครับ ความจริงแล้ว จะมีสูตรคำนวณที่ถูกต้องคือ ให้เอา ค.ศ.ตั้ง แล้วเอา 4 หาร หากหารลงตัวก็ใช่ ยกเว้น 100 หารลงตัว แต่หาก 400 ลงตัวก็ให้นับเป็นอธิกสุรทินด้วย (เช่น ปี 1900 ไม่เป็นอธิกสุรทิน แต่ปี 2000, 2004 เป็นปีอธิกสุรทิน) ปีที่แบ่งตามรอบพระจันทร์ (จันทรคติ) แบ่งเป็น 3 คือ 1. ปกติมาส-ปกติวาร  (บางที่เขียนย่อ เป็น ปกติมาส-วาร)       คือ ปีที่เป็นปกติ มีเดือนคู่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 15 วัน       และมีเดือนคี่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 14 วัน       รวมวันใน 1 ปี เป็น (30*6+29*6) = 354 วัน 2. ปกติมาส-ปีอธิกวาร (บางที่เรียกเป็น อธิกวาร)       คือ ปีที่เป็นปกติ แต่เดือน 7 จะมีข้างแรม 15 วัน        รวมวันใน 1 ปี เป็น 354+1 = 355 วัน 3. ปีอธิกมาส-ปกติวาร (บางที่จะเรียกเป็น อธิกมาส)     ...

เงินทองต้องใส่ใจ - เงินฝากประจำดอกเบี้ยสูง 24 เดือน ไม่ต้องเสียภาษี

เงินฝากสินมัธยะทรัพย์ทวี ของธนาคารกรุงเทพ แต่ถ้าเป็นของกสิกรจะเรียกเงินฝากทวีทรัพย์ แบงค์อื่นๆ ก็จะเรียกแตกต่างกันไป หนึ่งในแผนการออมเงินที่ดี ง่าย และเงินต้นไม่หาย คือ เงินฝากประจำดอกเบี้ยสูง ที่รัฐยกเว้นภาษีให้ โดยมีเงื่อนไขคือฝากจำนวนเท่าๆกันทุกเดือน เป็นเวลา 2 ปี หรือ 3 ปี เงินฝากทั้งหมดสูงสุดไม่เกิน 600,000 บาท - นั่นคือ ถ้าฝากแบบ 24 เดือน (2 ปี) เปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท สูงสุด 25,000 บาท - หรือ ถ้าฝากแบบ 36 เดือน (3 ปี) เปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท สูงสุด 16,666 บาท ( เช็คกับธนาคารอีกทีหนึ่ง บางธนาคารอาจจะให้ฝากได้สูงสุดน้อยกว่านี้ ) หนึ่งในสิ่งทีต้องตัดสินใจตอนเปิดบัญชีคือ จะเริ่มฝากจำนวนเท่าไหร่ดี เพราะจำนวนนี้จะต้องฝากเท่าๆกันทุกเดือนจนครบกำหนด ตอนแรกก็กล้าๆกลัวๆ แต่บังเอิญไปเจออาอิ๊ที่รู้จักเขาเคยฝากเต็ม max ไปเลย เลยลองฝากเต็ม max ไป 25,000 บาท ถ้าฝาก 25,000 บาท ดอกเบี้ย 2.25 % พอครบกำหนด 2 ปีจะได้ดอกเบี้ยถึง 14,091 บาทเลยทีเดียว แต่ถ้ารายได้ไม่เยอะมากหรือมีรายจ่ายเยอะมาก คิดว่าฝากทุกเดือนไม่ไหว ก็เลือกจำนวนที่ลดลงมาหน่อยก็ได้ เอาที่ตัวเองไหว แต่ถ้าไหวก็เต็ม...