ยื่นตอนไหน
ยื่นภาษีกลางปี ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน
เมื่อไหร่ถึงยื่น ภงด 94
คนมีรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตามมาตรา 40(5) – (8) ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน เกิน 60,000 บาทสำหรับคนโสด ( ref : https://www.rd.go.th/publish/60580.0.html )
เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออก
มาตรา 40(5) – (8) ซึ่งได้แก่
มาตรา 40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เป็นต้น
มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
มาตรา 40(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระที่สำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ
มาตรา 40(8) เงินได้ที่นอกเหนือจากเงินได้มาตรา 40(1) – (7) เช่น รายได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ขนส่งและการอื่น
การหักค่าใช้จ่าย : สามารถเลือกหักได้ 2 วิธี คือ
1.หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร (ต้องมีเอกสารและหลักฐานครบ)
2. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา อัตราจะแตกต่างไปตามเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) เช่น มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป์หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 60 ส่วนวิชาชีพอิสระอื่นๆ หักได้ ร้อยละ 30
การหักค่าลดหย่อน :
สามารถหักได้ครึ่งหนึ่งตามสิทธิ์
เช่น
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ลดหย่อนได้ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท)
- ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา ได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท)
ลดหย่อนได้สูงสุดตามที่จ่ายจริงในช่วงครึ่งปีแรก และยอดลดหย่อนสูงสุดเท่ากับแบบเต็มปี
- ซื้อกองทุนรวม SSF ได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีช่วงครึ่งปีแรก และไม่เกิน 200,000 บาท
- ซื้อกองทุน RMF, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีช่วงครึ่งปีแรก และไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินประกันสังคม ได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 9,000
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
ความผิดหากไม่ยื่นแบบและชำระภาษี : หากบุคคลธรรมดาไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และชำระภาษีจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และคิดเงินส่วนเพิ่ม 1.5% ของภาษีที่ค้างจ่ายเป็นรายเดือน
ref : https://www.dharmniti.co.th/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%A0-%E0%B8%87-%E0%B8%94-94/, https://money.kapook.com/view179606.html, http://www.rd.go.th/publish/38763.0.html, https://www.rd.go.th/publish/558.0.html, https://www.itax.in.th/media/%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2562/
ความคิดเห็น